ขายอะไหล่เครื่องจักร ที่ไม่ได้มีเพียงแค่จัดหาอะไหล่



โดยปกติแล้ว ร้านค้าที่จะสามารถผูกใจลูกค้าได้อย่างยาวนานนั้น นอกจากจะมีสินค้าที่มีคุณภาพเป็นมาตรฐานแล้ว ยังต้องมีการบริการที่ดีเยี่ยมอีกด้วย  ซึ่งไม่เพียงแต่ร้านขายของทั่วไปที่จะประสบความสำเร็จจากการบริการ เพราะแม้แต่ธุรกิจใหญ่ๆอย่าง ร้าน ขายอะไหล่เครื่องจักร การบริการก็ยังถือเป็นอีกหนึ่งจุดขายที่จะสามารถผูกใจลูกค้าไว้ได้  แถมยังสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว ชนิดที่เรียกได้ว่า ดูแลกันไปตั้งแต่เริ่มแรกจนธุรกิจเติบโตเลยทีเดียว
            ซึ่งโดยปกติแล้ว ร้าน ขายอะไหล่เครื่องจักร นั้นจะทำหน้าที่จัดหาอะไหล่และเครื่องจักรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า  โดยการสต็อคอะไหล่ก็จะต้องมีความครอบคลุม เพื่อให้เมื่อลูกค้าต้องการสินค้า ก็ส่งมาส่งต่อให้ด้วยความรวดเร็วและทันท่วงที เพราะหากการสั่งสินค้าใช้เวลานานเกินไปก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่ธุรกิจได้  โดยนอกจากจะต้องมีการสต็อคสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแล้ว อะไหล่ที่จัดหามาก็จะต้องมีคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้าสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดความเสียหายกับระบบการทำงานอีกด้วย
            สำหรับบริการของ ร้าน ขายอะไหล่เครื่องจักร ที่มีความพิเศษไปจากร้านค้าขายอะไหล่ทั่วไปนั้น ก็คือคุณภาพของการบริการ  โดยแต่ละครั้งที่ลูกค้ามีการสั่งซื้อสินค้าไปจากร้าน เจ้าหน้าที่เทคนิคซึ่งมีความเชี่ยวชาญนั้น จะทำการทดสอบอุปกรณ์ให้ทุกคครั้ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าที่รับไปจะสามารถใช้งานได้จริง แถมไม่ทำให้ลูกค้าต้องเสียเวลากับมาเปลี่ยนอะไหล่อีกครั้ง  นอกจากนี้ ยังมีระบบรับประกันสินค้าในกรณีที่อะไหล่เกิดมีปัญหาขึ้นในภายหลัง  ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่า หากลูกค้ารับอุปกรณ์จากทางร้านไป จะสามารถใช้งานได้และมีผู้รับผิดชอบจนถึงที่สุดอย่างแน่นอน
            นอกจากบริการสำหรับสินค้าที่ซื้อไปแล้ว ช่างผู้เชี่ยวชาญใน ร้าน ขายอะไหล่เครื่องจักร ยังสามารถเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าที่มีปัญหาในด้านการใช้ง่ายเครื่องจักรอีกด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของกิจการขนาดเล็กที่ไม่ได้มีช่างประจำเครื่อง รวมทั้งตัวเจ้าของเองไม่ได้มีความรู้ด้านงานช่างและเครื่องจักรอุตสาหกรรมากนัก  ก็สามารถติดต่อขอข้อมูลจากช่างหรือให้ช่างจากทางร้านเข้ามาดูตัวเครื่องจักร เพื่อวินิจฉัยว่าการที่เครื่องจักรมีปัญหานั้นอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุใด และควรเปลี่ยนอะไหล่ตัวไหนจากทางร้านอีกด้วย
            ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคุณภาพด้านการขาย การคัดเลือกสินค้า หรือบริการหลังการขายนั้น ก็ถือเป็นจุดวัดระดับคุณภาพของ ร้านอะไหล่เครื่องจักร ที่ดี  ซึ่งความจริงใจต่อลูกค้านั้นจะทำให้เกิดการใช้บริการอย่างต่อเนื่องยาวนานโดยเฉพาะกับลูกค้าที่เป็นธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งนั่นหมายถึงความสัมพันธ์อันดีที่จะทำให้ทั้งธุรกิจและร้านอะไหล่เติบโตได้อย่างมั่นคงเช่นเดียวกัน

อย่าลืมติดตาม Facebook Fanpage เพื่อไม่พลาดโปรโมชั่นดีดี

Touch Screen หรือจอสัมผัส เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากดตำแหน่งไหนบนจอ

Touch screen หรือจอสัมผัส

Touch screen หรือจอสัมผัส ในแวดวงอุตสาหกรรมย่อมเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางกับการซื้อ ขาย Touch screen Mitsubishi ซึ่งในเรื่องของการใช้งานแน่นอนว่า
ระบบเป็นส่วนสำคัญ วันนี้เราขอเอาภาพรวมของ Touch screen มาฝากทุกท่านครับ
ในส่วนของ Touch screen จะมีหน้าจอสัมผัสที่เรียกว่ารู้ตำแหน่ง
ที่เราต้องการสัมผัสเลยทีเดียว แล้วเครื่องนี้เค้ารู้ได้ยังไง ว่าเราต้องการสัมผัส
หรือว่าออกคำสั่งกับอะไร แน่นอนว่าเครื่องแบบ Touch screen ทั้งหลาย 
ต้องมีระบบพื้นฐาน 3 ระบบด้วยกันคือ ตัวต้านทาน (resistive) 
ตัวเก็บประจุ (capacitive) คลื่นเสียงที่ผิวของหน้าจอ (surface acoustic wave) 
แล้วแต่ละตัวทำงานกันยังไง มาดูกันเลยครับ 

– ตัวต้านทาน (resistive) จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน โดยที่จะมีช่องกระจกกั้น
เคลือบด้วยตัวนำและตัวต้านทาน ซึ่งทั้งสองตัวนี้ไม่ได้อยู่ติดกันนะครับ 
ตัวนึงจะอยู่ด้านบนสุด ทำหน้าที่รับการปรับค่าต่างๆ โดยที่เมื่อเราสัมผัสลงไปที่หน้าจอ 
จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านทั้งสองชั้น ทำให้เกิดกาสัมผัสกันตรงที่เราสัมผัสพอดี 
และจุดนี้เองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า และการคำนวณ
หาตำแหน่งโดยอัตโนมัติ จากนั้นจะมีไดรเวอร์ซึ่งทำหน้าที่แปลงการสัมผัส
ตรงนี้แหละไปเป็นสัญญาณหรือรหัสแล้วส่งไปที่ระบบปฏิบัติการอีกทีนั่นเองครับ

– ตัวเก็บประจุ (capacitive) จะถูกวางไว้ที่ตำแหน่งบนช่องกระจกของหน้าจอ 
เมื่อเราสัมผัสไปที่หน้าจอประจุไฟฟ้าบางส่วนจะส่งกลับมาที่ตัวเราทำให้ประจุไฟฟ้า
ที่อยู่ในเครื่องลดน้อยลง และเมื่อประจุไฟฟ้าลดน้อยลง วงจรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ
การสัมผัสซึ่งถูกวางไว้ที่มุมทั้งสี่มุมของเครื่องจะทำงานทันที โดยส่งข้อมูล
ไปยังคอมพิวเตอร์ โดยใช้ผลต่างของการคำนวณระยะห่างของการสัมผัส
จากทั้งสี่มุมก็จะได้ตำแหน่งที่เราสัมผัสแล้วล่ะครับ 
จากนั้นเครื่องก็จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลตรงนี้ไปยังไดรเวอร์เช่นกัน

– คลื่นเสียงที่ผิวของหน้าจอ (surface acoustic wave) ในส่วนหน้าจอ
จะมีระบบตัวรับคลื่นเสียงและส่งสัญญาณคลื่นเสียงอยู่ตลอดเวลาทั้งแนวตั้ง
และแนวนอนของจอภาพ ซึ่งตัวสะท้อนคลื่นเสียงนี้จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณ
อิเล็กทรอนิกส์ไปยังตัวอื่นๆ และตัวรับสัญญาณนี้จะทำงานเมื่อถูกรบกวน
โดยการสัมผัสของผู้ใช้งาน จึงสามารถบอกตำแหน่งของการสัมผัสหน้าจอได้ 

และการใช้ระบบคลื่นเสียงจะทำให้หน้าจอสามารถแสดงภาพได้อย่างชัดเจน
มากกว่าระบบอื่นๆ นั่นเองครับ

และนี่คือที่มาที่ไปของการทำงานในระบบของ Touch screen
โดยทั่วๆ ไปนั่นเองครับ แต่ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญ ในการที่เราจะต้องทำความเข้าใจ
เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการใช้และดูแลเครื่องต่อไปนั่นเอง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ FACEBOOK FANPAGE

ขาย Plc Mitsubishi A-Series ทุกรุ่น


ขาย Plc Mitsubishi A-Series

รับซื้อ- นำเข้า ขาย Plc Mitsubishi A-Series ทุกรุ่น
มีทั้งสินค้าใหม่และ ขาย plc มือสอง ราคาถูก คุณภาพดี เราคัดสรรสินค้าทุกรุ่น

มาเพื่อคุณลูกค้าทุกท่านมาอย่างดี มั่นใจว่าใช้งานได้แน่นอน
เราจะมาแนะนำรุ่น plc A series บางรุ่นนะคะ อาทิเช่น

ขาย plc mitsubishi A series

– PLC MITSUBISHI A6TBXY36,40 pin แท้สีดำ

– PLC MITSUBISHI A1SY81

– PLC MITSUBISHI A1SX42

– PLC MITSUBISHI A1SJ72QLP25

– PLC MITSUBISHI A2USCPU

– PLC MITSUBISHI A1SX80

– PLC MITSUBISHI A2SHCPU-S1

– PLC MITSUBISHI A1SJ71QBR11

– PLC MITSUBISHI A1SX41-S1

– PLC MITSUBISHI A1SJ71AP21

– PLC MITSUBISHI A1SHCPU

– PLC MITSUBISHI A1SJ71LP21

– PLC MITSUBISHI A1SX42-S1

– PLC MITSUBISHI A1SX42

– PLC MITSUBISHI A2SHCPU

– PLC MITSUBISHI A1SY42P

– PLC MITSUBISHI A6TBXY54

– PLC MITSUBISHI A1SY10

– PLC MITSUBISHI A1SX80

– PLC MITSUBISHI A1SHCPU

– PLC MITSUBISHI A1SY41P

– PLC MITSUBISHI A1SX81

– PLC MITSUBISHI A1SY40P

– PLC MITSUBISHI A1SY40

– PLC MITSUBISHI A1SX48Y58,8IN/8OUT transistor sink

– PLC MITSUBISHI A1SH42 ,32IN/32OUT

– PLC MITSUBISHI A1SJ71AT21B

– PLC MITSUBISHI A1SD75P1-S3

– PLC MITSUBISHI A1SD75P3-S3

– PLC MITSUBISHI AY13

– PLC MITSUBISHI AX41

และยังมี A series, Q Series, FX series, plc มือสอง 

และ ยี่ห้ออื่นๆอีกมากมาย ทั้ง plc omron, plc keyence,

plc panasonic, plc nais, plc siemens เป็นต้น

ขาย PLC ในระบบอุตสาหกรรม

ขาย PLC ในระบบอุตสาหกรรม
ขาย PLC ในระบบอุตสาหกรรม คุณภาพนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งมือหนึ่งและมือสอง โดยทีมงานคุณภาพที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี แต่ก่อนอื่นจะเล่าถึง PLC ในระบบอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจก่อน
PLC ได้รับการปรับให้เข้ากับงานอัตโนมัติของอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท โดยทั่วไปเป็นกระบวนการทางอุตสาหกรรมในการผลิต การใช้งาน PLC ประกอบด้วยอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุตที่เข้ากันได้กับอุปกรณ์และการควบคุมนำร่องอุตสาหกรรมที่ต้องการออกแบบทางไฟฟ้าแบบมุ่งเน้นที่การแสดงลำดับการทำงานที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้วแอปพลิเคชั่น PLC นั้นเป็นระบบที่มีการปรับแต่งสูง ดังนั้นค่าใช้จ่ายของราคาขาย PLC ในระบบอุตสาหกรรม จึงมีราคาต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการออกแบบคอนโทรลเลอร์ที่สร้างขึ้นเองโดยเฉพาะ ในทางกลับกันในกรณีของสินค้าที่ผลิตเป็นจำนวนมากระบบควบคุมแบบกำหนดเองจะประหยัด นี่คือสาเหตุที่ต้นทุนที่ต่ำกว่าซึ่งสามารถเลือกได้อย่างเหมาะสมที่สุด
สำหรับงานที่มีปริมาณมาก PLC นั้นเป็นตัวควบคุมที่ตั้งโปรแกรมที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการควบคุมการเคลื่อนที่ การวางตำแหน่งหรือแรงบิด ผู้ผลิตบางรายผลิตหน่วยควบคุมการเคลื่อนไหวเพื่อให้รวมเข้ากับ PLC เพื่อให้สามารถใช้รหัส G (เกี่ยวข้องกับเครื่องซีเอ็นซี) เพื่อสั่งการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร เพราะฉะนั้น ร้านขาย PLC ควรที่จะมีความรู้เพื่อแนะนำถึงเรื่องการตั้งโปรแกรมได้อย่างเข้าใจเพื่อให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้อย่างถูกต้อง
PLC อาจรวมถึง Logic สำหรับ Loop ควบคุมแบบ Analog แบบป้อนกลับตัวแปรเดียวตัวควบคุมสัดส่วนส่วนรวมอนุพันธ์ (PID) PID loop สามารถใช้ในการควบคุมอุณหภูมิของกระบวนการผลิตได้ ในอดีต PLC มักจะถูกกำหนดค่าด้วยลูปควบคุมแบบอะนาล็อกเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นโดยที่กระบวนการต้องการลูปนับร้อยหรือหลายพัน ระบบควบคุมแบบกระจาย จึงถูกนำมาใช้แทน เนื่องจากทำให้ PLC มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “ความปลอดภัย” PLC ได้เริ่มเป็นที่นิยมไม่ว่าจะเป็นโมเดลแบบสแตนด์อโลนหรือเป็นฟังก์ชันและฮาร์ดแวร์ที่ได้รับการจัดอันดับความปลอดภัยให้กับสถาปัตยกรรมควบคุมที่มีอยู่ สำหรับการใช้งานในแอปพลิเคชันที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น PLC ความปลอดภัยอาจถูกใช้เพื่อควบคุมการเข้าถึงคีย์ที่ถูกดักจับหรืออาจจะจัดการการตอบสนองการปิดเครื่องเพื่อหยุดฉุกเฉินในสายการผลิตสายพาน ซึ่งเสริมด้วยความปลอดภัยที่ออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับการหยุดฉุกเฉินหน้าจอไฟและอื่น ๆ ความยืดหยุ่นที่ระบบดังกล่าวนำเสนอมีผลทำให้ความต้องการคอนโทรลเลอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ร้านของเรามีช่างเทคนิคที่คอยช่วยเหลือก่อนที่จะขาย PLC ให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจก่อนจะนำไปใช้ในระบบงานของตัวเอง และยังมีการรับประกันสินค้าซึ่งหากมีปัญหาก็สามารถนำมาส่งที่ร้านแก้ไขได้ทันที โดยเรามี หลากหลายยี่ห้อให้เลือก เช่น PLC Mitsubishi , PLC Keyence, PLC Nais, PLC Panasonic, PLC Siemens
หากสนใจสามารถดูสินค้าได้ที่นี่
โทร 02-9444511-13
E-mail : Sales@a-automation.co.th
Line ID : @a-automation,@a-automation2

วิธีการต่อวงจร Proximity Sensor

PROXIMITY SENSOR

เป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัส แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. Inductive Proximity Sensor ใช้ตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะ


2. Capacitive Proximity Sensor ใช้ตรวจจับวัตถุเกือบทุกประเภท แต่วัตถุที่ตรวจจับจำเป็นต้องมีปริมาตรที่ไม่น้อยเกินไป


 นอกจากนั้น Proximity Sensor ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิด Unshielded ซึ่งมีบริเวณตรวจจับกว้าง กระจายไปรอบๆหัวของ proximity  และ ชนิด Shielded ซึ่งมีบริเวณตรวจจับกระจายเฉพาะตัวหน้าบริเวณส่วนหัวของ Proximity




*** การต่อวงจรใช้งาน ***
- การต่อ Proximity Sensor เข้ากับ PLC





- การต่อ Proximity Sensor เข้ากับโหลดรีเลย์



Sensor อุตสาหกรรมโรงงาน คืออะไร ทำงานอย่างไร

เซ็นเซอร์ หรือ Sensorเป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในงานอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ เพราะเซ็นเซอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวตรวจสอบ
ตรวจวัดเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เช่น กำหนดตำแหน่ง ควบคุมปริมาณ
คัดแยกชิ้นงาน หรืออื่นๆ เพื่อให้ระบบดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ
ดังนั้นหากเลือกใช้เซ็นเซอร์ที่มีประสิทธิภาพดีแม่นยำ ก็จะส่งผลให้กระบวนการผลิต
มีคุณภาพที่ดีเยี่ยมตามไปด้วย Sensor แบ่งแยกตามลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติได้ดังนี้

** Photo Electric Sensor เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่ใช้สำหรับตรวจจับการมีหรือไม่มีวัตถุที่
เราต้องการตรวจจับโดยอาศัยหลักการวัดปริมาณของความเข้มของแสงที่มากระทบวัตถุ
และสะท้อนกลับมายังเซ็นเซอร์


** Proximity Sensor เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่ใช้สำหรับตรวจจับ
การมีหรือไม่มีวัตถุโดยอาศัยหลักการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่
เหล็กหรือสนามไฟฟ้า แบ่งได้ 2 แบบ

1. ชนิดสนามแม่เหล็ก (Inductive)
2. ชนิดสนามไฟฟ้า (Capacitive)



** Fiber Optic Sensor 
มีทั้งแบบสะท้อนวัตถุโดยตรง และแบบแยกตัวรับ
ตัวส่งระยะการตรวจจับขึ้นอยู่กับชนิด รุ่น และคุณสมบัติของใยแก้วนำแสง เหมาะสำหรับงาน
ที่ใช้ตรวจจับวัติถุขนาดเล็ก ใช้งานในพื้นที่ติดตั้งน้อย



** Laser Sensor
  สวิทช์ลำแสง เปรียบเสมือนตาวิเศษ เป็นอุปกรณ์ที่
ทำงานเหมือนสวิทช์ทางกล แต่ว่ามีข้อดีแตกต่างจากเซ็นเซอร์ตรวจจับชนิดอื่นๆ
เมื่อวัตถุบังลำแสงเอาท์พุทจะเปลี่ยนสถานะ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดระยะทาง
โดยใช้แสงเลเซอร์ การคำนวณจะคิดจากหลักการสะท้อนของแสง
แล้วนำมาดูว่าแสงมีเฟสเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด 


** Area Sensor มีทั้งแบบสะท้อนวัตถุโดยตรง และแบบแยกตัวรับ ตัวส่ง ระยะการตรวจจับขึ้นอยู่กับชนิด
รุ่น และคุณสมบัติของใยแก้วนำแสง เหมาะสำหรับงานที่ใช้ตรวจจับวัติถุขนาดเล็ก ใช้งานในพื้นที่ติดตั้งน้อย



** Flow Sensor เป็นอุกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบอัตราการไหลของของเหลว
และปริมาณการไหลสะสม

Inverter ปรับความเร็วรอบและขั้นตอนการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์



อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ปรับความเร็วรอบ เป็นอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในการปรับรอบการทำงานของมอร์เตอร์ (motor)
ซึ่งในการปรับมอร์เตอร์ให้เหมาะสมจะช่วยให้ระบบการทำงานถูกต้องและช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับมอร์เตอร์ได้ด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ 

 1.  ลักษณะการทำงานเชิงกล

-  แรงบิดไม่คงที่ (Variable Torque Load) เช่น พัดลม ปั๊มน้ำ 
-  แรงบิดคงที่ (Constant Torque Load) เช่น ลิฟท์ คอนเวเยอร์

 2. หาข้อมูลมอเตอร์จากเนมเพลท

หาค่ากระแสและกำลังมอเตอร์เมื่อขับโหลดเต็มกำลัง
การเลือกขนาดของ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะดูจากขนาดกระแสและกำลังของมอเตอร์ แต่กระแสที่พิกัดนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อใช้ที่แรงดัน..แตกต่างจากเนมเพลทหรือความเร็วใช้งานต่างจากที่ระบุบนเนมเพลท เช่น มอเตอร์ 12 โพลทำงานที่ 540 รอบ/นาที จะกินกระแสสูงกว่ามอเตอร์ 4 โพล ทำงานที่ความเร็วรอบ 1750 รอบ/นาที ถึงแม้ค่ากิโลวัตต์จะเท่ากัน หาค่าความเร็วรอบมอเตอร์เมื่อทำงานเต็มกำลัง  การเลือกมอเตอร์เพื่อขับโหลดอย่างเหมาะสม เราจะต้องทราบค่าความเร็วและแรงบิดที่โหลดต้องการ เพื่อใช้ในการคำณวนค่ากำลังของมอเตอร์ (กำลังมอเตอร์= แรงบิด x ความเร็วรอบ )

 3. พิจารณาช่วงความเร็วรอบ,ความร้อนและประสิทธิภาพของมอเตอร์

ความเร็วรอบสูงสุดของมอเตอร์สูงกว่าความเร็วที่ 50 Hz

โหลดแบบแรงบิดไม่คงที่ 
(Variable Torque Load) 

การปรับตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อควบคุมดวามเร็วของปั๊มและพัดลม เราควรตั้งค่าความเร็วสูงสุด (HSP) ไว้ที่พิกัดของอัตราการไหลที่เราต้องการ หากเราตั้งค่าไม่เหมาะสมจะทำให้มอเตอร์และปั๊ม ทำงานโอเวอร์โหลด 

โหลดแบบแรงบิดคงที่
 (Constant Torque Load)
การปรับตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อควบคุมความเร็วของเครื่องจักรแบบต้องการแรงบิดคงที่ เช่น สายพานลำเลียงที่ระดับความเร็วสูงกว่า 50 Hz จำเป็นจะต้องตรวจสอบดูความสามารถของมอเตอร์ก่อนว่าตลับลูกปืนที่เพลามอเตอร์ทำงานได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องดูอีกว่าจะมีชิ้นส่วนอย่างอื่นหลุดกระเด็นออกจากเครื่องจักรมาทำอันตรายคนหรือไม่

 4. แรงบิดตอนสตาร์ทของเครื่องจักร(Breakaway Torque)

พิจารณาความต้องการแรงบิดตอนสตาร์ทของเครื่องจักร (Breakaway Torque) Breakaway Torque หมายถึง แรงบิดตอนสตาร์ทออกตัวที่เครื่องจักรต้องการจากมอเตอร์ เพื่อให้เครื่องจักรหมุนได้และเป็นตัวกำหนดค่ากระแสที่พิกัดของอินเวอร์เตอร์ด้วย ส่วนใหญ่จะบอกค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ของแรงบิดเมื่อเครื่องจักรทำงานเต็มที่ (Full Load)  Breakaway Torque ของเครื่องจักรแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน เมื่อเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ ต้องพิจารณาค่านี้เสมอ ถ้าหากเราเลือกค่านี้ผิด จะทำให้อินเวอร์เตอร์ทำงานไม่ได้และมอเตอร์จะไม่สามารถสตาร์ทออกตัวได้

 5. การเร่งความเร็ว(Acceleration Requirement)

การเร่งความเร็วในช่วงเวลาที่ต้องการ (Acceleration Requirement) การเร่งความเร็วของมอเตอร์เพื่อให้เครื่องจักรเดินที่ความเร็วรอบที่ต้องการ มอเตอร์จะใช้ กระแสจากอินเวอร์เตอร์ ไปสร้างแรงบิดอีกชนิดหนึ่งเราเรียกว่า “Acceleration Torque ”

ข้อควรจำ
 สำหรับการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์เราจะต้องพิจารณา Acceleration Torqueให้ถูกต้อง ถ้าเราเลือกผิดจะมีปัญหาดังนี้ 

1) การปรับตั้ง Acceleration Torque ผิดจะทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจร (Trip, Fault)
2) หากปรับตั้ง Acceleration Torque สูงมากเกินไปจะทำให้เครื่องจักรเสียหายได้

 6. การลดความเร็ว (Deceleration Requirement)

ในการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ ทำไมต้องพิจารณา Deceleration Torque ?
1) ขณะมอเตอร์ลดความเร็ว มอเตอร์จะจ่ายพลังงานคืนให้กับระบบและตัวอินเวอร์เตอร์ดังนั้นถ้าเราตั้งค่าไม่ถูกต้องจะทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจร (trip, fault)
2) แรงบิดขณะลดความเร็ว (Deceleration Torque) หากมีค่าสูงเกินไป สามารถทำให้เครื่องจักรเสียหายได้

 7. สภาพแวดล้อมในการติดตั้งอินเวอร์เตอร์

สภาพแวดล้อมในการติดตั้งอินเวอร์เตอร์  เราจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆดังนี้ 
1) อุณหภูมิรอบข้าง โดยปกติอุณหภูมิรอบข้างของอินเวอร์เตอร์จะถูกกำหนดไว้ที่ 0-50 องศาเซลเซียส 
หากท่านนำไปติดตั้งในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส ท่านจะต้องเพิ่มขนาดกิโลวัตต์ของอินเวอร์เตอร์ด้วย 
2) ความชื้นในบริเวณที่ติดตั้ง 
3) ความสามารถในการป้องกันฝุ่นและน้ำ

สอบถามข้อมูล-รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-9444511